22.11.12

จองที่พักสุรินทร์ โรงแรมสุรินทร์ ห้องพัก บ้านเช่า เที่ยว

 สุรินทร์เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานจังหวัดหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอนว่ามีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร อาศัยเพียงข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ตลอดจนคำบอกเล่าของผู้สูงอายุที่เล่าต่อๆ กันมา โดยเชื่อกันว่าเมืองสุรินทร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมมีอำนาจอยู่ในบริเวณนี้ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงเมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนกลายเป็นป่าดงอยู่นาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2306 จึงปรากฏหลักฐานว่าหลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองที ได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองที มาตั้งอยู่บริเวณบ้านคูประทาย บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ 2 ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ต่อมาหลวงสิรินทรภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านคูประทายเป็น “เมืองประทายสมันต์” และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทรภักดี เป็นพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ให้เป็นเจ้าเมืองปกครอง
 ในปี พ.ศ. 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “เมืองประทายสมันต์” เป็น “เมืองสุรินทร์” ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง
• สุรินทร์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ประมาณ 457 กิโลเมตร และโดยทางรถไฟประมาณ 420 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
• ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด และมหาสารคาม
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
• ทิศใต้ ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์
การปกครอง
 จังหวัดสุรินทร์ แบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 4 อำเภอ ดังนี้
 อำเภอเมือง
 อำเภอปราสาท ห่างจากตัวเมือง 28 กม.
อำเภอสังขะ ห่างจากตัวเมือง 49 กม.
อำเภอศรีขรภูมิ ห่างจากตัวเมือง 34 กม.
อำเภอสำโรงทาบ ห่างจากตัวเมือง 54 กม.
อำเภอจอมพระ ห่างจากตัวเมือง 26 กม.
อำเภอท่าตูม ห่างจากตัวเมือง 51 กม.
อำเภอชุมพลบุรี ห่างจากตัวเมือง 91 กม.
อำเภอรัตนบุรี ห่างจากตัวเมือง 70 กม.
อำเภอสนม ห่างจากตัวเมือง 49 กม.
อำเภอกาบเชิง ห่างจากตัวเมือง 58 กม.
อำเภอบัวเชด ห่างจากตัวเมือง 66 กม.
อำเภอลำดวน ห่างจากตัวเมือง 24 กม.
กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ ห่างจากตัวเมือง 22 กม.
กิ่งอำเภอศรีณรงค์ ห่างจากตัวเมือง 64 กม.
กิ่งอำเภอพนมดงรัก ห่างจากตัวเมือง 78 กม.
กิ่งอำเภอโนนนารายณ์ ห่างจากตัวเมือง 80 กม.



การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่จังหวัดสระบุรีและเดินทางเข้าเส้นทางโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24) ผ่านอำเภอนางรอง อำเภอปราสาท จากอำเภอปราสาทแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 214 ถึงตัวเมืองสุรินทร์ รวมระยะทาง 450 กิโลเมตร
 หรืออาจเดินทางจากกรุงเทพฯไปจังหวัดนครราชสีมา ต่อด้วยเส้นทางหมายเลข 226 ผ่านอำเภอจักราช ห้วยแถลง ลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สู่จังหวัดสุรินทร์ รวมระยะทาง 434 กิโลเมตร
• โดยสารรถประจำทาง จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทางออกจากสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ไปสุรินทร์ทุกวัน สอบถามรายละเอียดโทร. 936-2852-66
• จากสถานีขนส่งจังหวัดสุรินทร์ ถนนจิตรบำรุง มีรถโดยสารประจำทางหลายสายดังนี้ -
สายสุรินทร์-รัตนบุรี, สุรินทร์-กาบเชิง-ช่องจอม, สุรินทร์-โคกกระชาย (อำเภอปราสาท), สุรินทร์-ร้อยเอ็ด (สายเก่า), สุรินทร์-ร้อยเอ็ด (สายใหม่) , สุรินทร์-ยโสธร, สุรินทร์-นครราชสีมา, สุรินทร์-ศรีสะเกษ (ผ่านศรีขรภูมิ), สุรินทร์-กระโพ-นากลาง, สุรินทร์-พัทยา (มีทั้งรถธรรมดา รถปรับอากาศและวีไอพี) ติดต่อ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. (044) 511756
• สายสุรินทร์-กรุงเทพฯ ติดต่อ เศรษฐีทัวร์ โทร. (044) 511496 กิจการราชสีมาทัวร์ โทร. (044) 512161
• สายอุบลราชธานี-สุรินทร์-นครราชสีมา-ระยอง ติดต่อ นครชัยแอร์ โทร. (044) 515151
• รถไฟ มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (สถานีหัวลำโพง) มีรถธรรมดา รถเร็ว และรถด่วนสายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี แวะจอดที่จังหวัดสุรินทร์ และรถดีเซลราง กรุงเทพฯ-สุรินทร์ สอบถามรายละเอียด โทร. 223-7010 และ 223-7020 สถานีรถไฟจังหวัดสุรินทร์ โทร. (044) 511295, 515393
• การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ไปยังจังหวัดใกล้เคียง ติดต่อสถานีขนส่งจังหวัดสุรินทร์ โทร. (044) 511756
จังหวัดบุรีรัมย์ ระยะทาง 111 กิโลเมตร
 จังหวัดยโสธร ระยะทาง 135 กิโลเมตร
 จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทาง 137 กิโลเมตร
 จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 143 กิโลเมตร
 จังหวัดมหาสารคาม ระยะทาง 177 กิโลเมตร
 จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง 198 กิโลเมตร
 ข้อมูลรายละเอียดในเอกสารนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
 สงวนลิขสิทธิ์ หากนำไปจัดพิมพ์เพื่อการจำหน่าย

หากมีข้อมูลเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม โปรดแจ้ง งานพัฒนาข้อมูลท่องเที่ยว
 โทร. ๐ ๒๒๕๐ ๕๕๐๐ ต่อ ๒๑๔๑-๕ โทรสาร ๐ ๒๒๕๓ ๗๔๔๐

11.12.11

สุรินทร์ เมืองช้าง จองโรงแรมสุรินทร์ ที่พักสุรินทร์ ห้องพักสุรินทร์

คำขวัญประจำจังหวัด

"สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม" 
สุรินทร์ เป็นจังหวัดหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ ที่เรียกกันว่า อีสานใต้ มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 8,124.056 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ 420 กิโลเมตร และโดยทางรถยนต์ผ่านทางอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ระยะทาง ประมาณ 457 กิโลเมตร อยู่กึ่งกลางเท่ากัน ระหว่างจังหวัดนครราชสีมากับจังหวัดอุบลราชธานี มีระยะทางเท่ากัน 155 กิโลเมตร

ทิศเหนือจดจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออกจดจังหวัดศรีษะเกษ
ทิศตะวันตกจดจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศใต้จดประเทศกัมพูชา โดยมีเทือกเขาพนมดงรักเป็นเส้นกั้นเขตแดน

ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัด สุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,077,535 ไร่คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ภาคตะ วันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือบริเวณซึ่งติดต่อกับราช อาณาจักรกัมพูชา มีป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน ถัดจากบริเวณภูเขา จะเป็นที่ราบสูงลุ่มๆ ดอนๆ ลักษณะลูกคลื่นลอนลาดบริเวณตอนกลาง ของจังหวัด จะเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบสูงอยู่บางตอน ด้านเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไหลผ่าน

จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบสูงมีลักษณะพื้นที่ดังนี้
- ทางตอนใต้ของจังหวัด เป็นพื้นที่ราบสูง มีภูเขาสลับซับซ้อนหลายลูก มีป่าทึบสลับป่าเบญจพรรณตามบริเวณแนวเขตชายแดน (อำเภอบัวเชด อำเภอสังขะ อำเภอกาบเชิง และกิ่งอำเภอพนมดงรัก) ที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ต่อจากบริเวณภูเขาลงมาเป็นที่ราบสูง ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ลาดเท มีลักษณะเป็นลูกคลื่น ค่อย ๆ ลาดเทไปทางตอนกลางและตอนเหนือของจังหวัด - ทางตอนกลางของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม แต่มีพื้นที่บางส่วนเป็นที่ดอน สลับที่ลุ่มลอนลาดเช่นเดียวกัน แต่ไม่มากเท่าทางตอนใต้ของจังหวัด (อำเภอเมืองสุรินทร์ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอศีขรภูมิ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอลำดวน และกิ่งอำเภอศรีณรงค์)
- ทางตอนเหนือของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ (อำเภอจอมพระ อำเภอสนม) และที่ราบลุ่ม (อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม อำเภอรัตบุรี และกิ่งอำเภอโนนนารายณ์) โดยเฉพาะอำเภอชุมพลบุรี และอำเภอท่าตูม อยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลในเขตของ ทุ่งกุลาร้องไห้
ลักษณะของดินในจังหวัดสุรินทร์ เป็นดินร่วนปนทราย มีบางพื้นที่ เช่น กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ เป็นดินเหนียวปนทราย ฉะนั้นดินในจังหวัดสุรินทร์จึงอุ้มน้ำได้น้อย

ภูเขาและแหล่งน้ำ จังหวัดสุรินทร์ มีเทือกเขาพนมดงรักทอดยาวตามแนวเขตแดนไทย - กัมพูชา ทางด้านตอนใต้ของจังหวัด มีเขาสวายหรือพนมสวายในเขตตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว มียอดเตี้ย ๆ 3 ยอด ยอดที่ 1 ชื่อยอดเขาชาย (พนมเปราะ) เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล ปางประทานพร ภปร. ยอดที่ 2 ชื่อยอดเขาหญิง (พนมซแร็ย) เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ขนาดกลาง ยอดที่ 3 ชื่อยอดเขาคอก (พนมกรอล) พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์ ได้สร้างศาลาอัฏฐะมุขเพื่อเป็นอนุสรณ์ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และสถูปบรรจุอัฐิพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) เกจิอาจารย์ที่ชาวสุรินทร์เคารพนับถือ ปัจจุบันเขาสวายได้รับการประกาศเป็น วนอุทยานพนมสวาย

จังหวัดสุรินทร์มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ
แม่น้ำมูล ต้นน้ำเกิดจากภูเขาดงพญาเย็น เขตอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์ ทางเขตอำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร การเพาะปลูก การคมนาคม นอกจากนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของราษฎร หากไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนแล้ง จะมีน้ำตลอดทั้งปี
ลำน้ำชี ต้นน้ำเกิดจากเขาพนมดงรัก เป็นลำน้ำที่แบ่งอาณาเขตจังหวัดสุรินทร์กับจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นลำน้ำที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 90 กิโลเมตร ไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์ ในเขตอำเภอปราสาท อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอจอมพระ และไปบรรจบแม่น้ำมูลที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ลำน้ำห้วยพลับพลา ต้นน้ำเกิดจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ไหลผ่านทุ่งกุลาร้องไห้ ลงสู่แม่น้ำมูลที่อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นลำห้วยที่แบ่งอาณาเขตจังหวัดสุรินทร์ กับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดร้อยเอ็ด
ลำห้วยทับทัน ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาพนมดงรัก ไหลผ่านเขตอำเภอสังขะ กิ่งอำเภอศรีณรงค์ อำเภอสำโรงทาบ กิ่งอำเภอโนนนารายณ์ อำเภอรัตนบุรี และไหลลงสู่แม่น้ำมูล
ลำห้วยระวี ไหลผ่านเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอจอมพระ และอำเภอท่าตูม ทางจังหวัดได้ทำการขุดลอก และสร้างฝายน้ำล้นกั้นเป็นช่วง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร การเพาะปลูก และการอุปโภคบริโภค
ลำห้วยเสน ต้น น้ำเกิดจากเขาพนมดงรัก ไหลผ่านเขตอำเภอสังขะ กิ่งอำเภอศรีณรงค์ เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ในฤดูแล้งน้ำแห้งเป็นบางช่วงของลำห้วย
ลำห้วยระหาร ไหลผ่านเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ ในฤดูฝนน้ำจะท่วมหลาก แต่ในฤดูแล้งน้ำจะแห้งขอด ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้
ลำห้วยแก้ว ไหลผ่านเขตอำเภอรัตนบุรี และไหลลงสู่แม่น้ำมูล ฤดูแล้งบางช่วงของลำห้วยน้ำตื้นเขิน ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน
ลำห้วยสำราญ เป็นลำห้วยที่แบ่งอาณาเขตจังหวัดสุรินทร์กับจังหวัดศรีสะเกษ ต้นน้ำเกิดจากเขาพนมดัจ (เขาขาด) และพนมซแร็ยซระน็อฮ (เขานางโศก) ไหลผ่านเขตอำเภอบัวเชด และอำเภอสังขะ
ลำห้วยจริง เป็นลำห้วยที่แบ่งอาณาเขตอำเภอศีขรภูมิกับกิ่งโนนนารายณ์และสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์มีโครงการชลประทาน 1 แห่งคือ โครงการชลประทานห้วยเสนง (ซะเนง = เขาสัตว์) อยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นโครงการส่งน้ำทดน้ำ เอื้อประโยชน์ต่อการทำนาในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 46,180 ไร่

นอกจากแหล่งน้ำดังกล่าวแล้ว จังหวัดสุรินทร์ยังมีแหล่งน้ำอื่น ๆ ในเขตอำเภอต่าง ๆ อีก เช่น
อำเภอเมืองสุรินทร์ มีอ่างเก็บน้ำอำปึล ตำบลเทนมีย์ และอ่างเก็บน้ำหนองศาลา ตำบลนอกเมือง
อำเภอปราสาท มีอ่างเก็บน้ำสุวรรณาภา ตำบลกังแอน และอ่างเก็บน้ำลุมพุก ตำบลตาเตียว
อำเภอชุมพลบุรี มีอ่างเก็บน้ำหนองกระทุ่ม ตำบลชุมพลบุรี
อำเภอท่าตูม มีอ่างเก็บน้ำลุงปุง ตำบลท่าตูม
อำเภอรัตนบุรี มีอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ตำบลรัตนบุรี อ่างเก็บน้ำหนองกา ตำบลน้ำเขียว และ อ่างเก็บน้ำหนองน้ำใส ตำบลดอนแรด
อำเภอจอมพระ มีอ่างเก็บน้ำห้วยระหาร ตำบลบุแกรง
อำเภอศีขรภูมิ มีอ่างเก็บน้ำลำพอก ตำบลยาง
อำเภอกาบเชิง มีอ่างเก็บน้ำบ้านสกล ตำบลคูตัน อ่างเก็บน้ำตาเกาว์ ตำบลกาบเชิง อ่างเก็บน้ำห้วยด่านและอ่างเก็บน้ำห้วยเชิง ตำบลด่าน
อำเภอบัวเชด มีเขื่อนบ้านจรัสและเขื่อนบ้านทำนบ ตำบลจรัส และแหล่งน้ำอื่นที่ไม่เอื้อประโยชน์มากนักเนื่องจากในฤดูแล้งไม่มีน้ำอีก เป็นจำนวนมาก

ทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่จังหวัดไม่มีอุทยานแห่งชาติมีวนอุทยานจำนวน 2 แห่ง คือวนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่และมีเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ - ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก, อำเภอกาบเชิง, อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่
จังหวัดสุรินทร์มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ป่าไม้ ซึ่งมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งจังหวัดประมาณ 1,434,001 ไร่ ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าสมบูรณ์เหลืออยู่ประมาณ 187,343 ไร่ (เอกสารบรรยายสรุปจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี 2540) มีการตัดไม้ทำลายป่าค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการบุกรุก แผ้วถาง เพื่อการเกษตรกรรม ป่าไม้ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตอำเภอสังขะ อำเภอบัวเชด อำเภอกาบเชิง และกิ่งอำเภอพนมดงรัก และยังมีป่าไม้กระจัดกระจายเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอปราสาท อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี อำเภอลำดวน และอำเภอศีขรภูมิ ต้นไม้ที่มีอยู่โดยทั่วไปในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ต้นเต็ง รัง ยาง ประดู่ พะยูง ตาด แดง กะบาก และอื่น ๆ รวมทั้ง ต้นมันปลา หรือต้นกันเกรา ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ จากการที่ป่าไม้ถูกทำลายมาก จึงมีการปลูกป่าทดแทน หรือปลูกไม้โตเร็วเพื่อการใช้สอย เช่น ต้นกระถินณรงค์ และต้นยูคาลิปตัส เกือบทุกอำเภอ นอกจากนั้น มีการปลูกต้นยางพาราที่อำเภอกาบเชิง กิ่งอำเภอพนมดงรัก และกิ่งอำเภอศรีณรงค์ บางอำเภอสามารถกรีดยางได้แล้ว ส่วนทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่มีอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ บ่อหินลูกรัง (อำเภอท่าตูม อำเภอสำโรงทาบ อำเภอสังขะ) และทรายแม่น้ำมูลที่นำมาใช้ในการก่อสร้าง (อำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี)


ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัด สุรินทร์ อยู่ในแถบของลมมรสุมเขตร้อน ลักษณะของลมฟ้า อากาศ และปริมาณน้ำฝน จะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมเป็นสำคัญ ลมมรสุมที่พัดผ่านคือ
1. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่บริเวณภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดฝนตก แต่จังหวัดสุรินทร์ได้รับปริมาณน้ำฝนจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีเทือกเขาพนมดงรักกั้นอยู่ ปริมาณน้ำฝนส่วนใหญ่มาจากอิทธิพลของลมพายุในทะเลจีนใต้
2. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดจากแคว้นไซบีเรียและทางตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้เกิดความหนาวเย็นและความแห้งแล้งโดยทั่วไป โดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ได้รับผลกระทบค่อนข้างสูง
3. ฤดูกาลในจังหวัดสุรินทร์ มี 3 ฤดู ในแต่ละฤดูจะมีช่วงเวลาไม่คงที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และอิทธิพลของลมมรสุมเป็นหลัก แต่โดยทั่ว ๆ ไป พอสรุปได้ดังนี้
ฤดูร้อน อยู่ระหว่างช่วงเดือน กุมภาพันธ์ หรือมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนอบอ้าว และร้อนจัดมากในบางช่วงส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งโดยทั่วไป
ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนไม่แน่นอน บางปีมาก บางปีน้อย ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมและลมพายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้
ฤดูหนาว อยู่ระหว่างช่วงเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ความหนาวเย็นในแต่ละปีขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และร่องความกดอากาศต่ำจากประเทศจีน

การปกครอง
1. การปกครองส่วนภูมิภาค จังหวัดสุรินทร์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 4 กิ่งอำเภอ 158 ตำบล 2,098 หมู่บ้าน
1. เมืองสุรินทร์
2. ปราสาท
3. สังขะ
4. ศีขรภูมิ
5. รัตนบุรี
6. ท่าตูม
7. สำโรงทาบ
8. ชุมพลบุรี
9. จอมพระ
10. สนม
11. กาบเชิง
12. บัวเชด
13. ลำดวน
14. กิ่ง อ.ศรีณรงค์
15. กิ่ง อ.พนมดงรัก
16. กิ่ง อ.เขวาสินรินทร์
17. กิ่ง อ.โนนนารายณ์

1.10.09

GENERAL INFORMATION THAILAND.


GENERAL INFORMATION
As a general rule, any foreigner seeking entry into the Kingdom of Thailand for business, investment, study, medical treatment, mass media, religion, employment and other purposes is required to apply for a visa from a Thai Embassy or Consulate-General. To do so, a foreigner must possess a valid passport or travel document that is recognized by the Royal Thai Government and comply with the conditions set forth in the Immigration Act B.E.2522 (1979) and its related provisions.
Foreigners who fall into any of the following categories are prohibited to enter the Kingdom.
Having no genuine and valid passport or document used in lieu of passport; or having a genuine and valid passport or document used in lieu of passport without visaing by the Royal Thai Embassies or Consulates in foreign countries; or from the Ministry of Foreign Affairs, except if a visa is not required for certain types of aliens in special instances. Visaing and visa exemption will be under the terms and conditions as provided in the Ministerial Regulations.
Having no appropriate means of living following entrance into the Kingdom.
Having entered into the Kingdom to take occupation as a labourer, or to take employment by using physical energy without skills or training , or to work in violation of the Alien Work Permit Law.
Being mentally unstable or having any of the diseases as prescribed in the Ministerial Regulations.
Having not yet been vaccinated against smallpox or inoculated or undergone any other medical treatment for protection against disease and having refused to have such vaccinations administered by the Immigration Doctor.
Having been imprisoned by the judgement of the Thai Court; or by a lawful injunction; or by the judgement of the Court of foreign country, except when the penalty is for petty offense or negligence or is provided for as an exception in the Ministerial Regulations.
Having behavior which would indicate possible danger to the Public or likelihood of being nuisance or constituting any violence to the peace or safety of the public or to the security of the public or to the security of the nation, or being under warrant of arrest by competent officials of foreign governments.
Reason to believe that entrance into the Kingdom was for the purpose of being involved in prostitution, the trading of women of children, drug smuggling, or other types of smuggling which are contrary to the public morality.
Having no money or bond as prescribed by the Minister under Section 14 of the Immigration Act B.E. 2522 .
Being a person prohibited by the Minister under Section 16 of the Immigration Act B.E. 2522.
Being deported by either the Government of Thailand that of or other foreign countries; or the right of stay in the Kingdom or in foreign countries having been revoked; or having been sent out of the Kingdom by competent officials at the expense of the Government of Thailand unless the Minister shall consider exemption on an individual special case basis.
The examination and diagnosis of disease of a physical or mental nature, including protective operations as against disease, shall be conducted by the Immigration Doctor.
Information on location and contact number of the Thai Embassy and Consulate-General abroad could be obtained from the Ministry of Foreign Affairs, Department of Consular Affairs, Visas and Travel Documents Division, 123 Chaengwattana Road, Bangkok 10210, Tel. (662) 981-7171 ext. 3201-2, 3204-5 or direct line 575-1062-4, Fax. (662) 575-1066 , E-mail : div1303@mfa.go.th
Note: Please check the period of stay stamped in your passport by the immigration officer. Visitors who overstay their visa will, at the time of their departure, be fined 500 baht for each excess day.
More information >>
CUSTOMS
Duty Free AllowanceThe duty free allowance will be applied to accompanied personal effects up to Bath 10,000 worth if i) the items are intended for your own personal or professional uses; ii) the quantity are reasonable; and iii) the items are not subject to prohibition or restriction. However, there are limits on the amount of alcoholic beverages, cigarettes, cigars and smoking tobacco to which you may include in your duty free personal exemption as follows:
200 cigarettes or 250 grams of cigars or smoking tobacco
1 litre of spirituous liquor.
Personal effects do not include motor vehicles and motor vehicle parts regardless of the length of time used and owned.
Fore other related information about custorms please
click hereInstruction on Import and Export of Goods1. CurrenciesForeign Currency
Passengers are allowed to bring in and take out unlimited amount of foreign currency. However, if the amount of foreign currency is equal to or exceeds 20,000 USD, Foreign currency Declaration Form shell be completed and submitted to Customs while procession through Customs offices.
Thai Currency
Inbound passengers are allowed to bring in unlimited amount of Thai currency.
Outbound passengers travelling to Lao PDR, Myanmar, Cambodia, Malaysia and Vietnam are allowed to take out Thai currency not exceeding 500,000 Baht, but those traveling to other countries are permitted to take out not exceeding 50,000 Baht.
2. Buddha Images
Buddha images, Bodhisattva images or related fragments, part of ancient monument and prehistoric objects, are forbidden to be taken out of the Kingdom. Newly cast Buddha images in complete condition can be exported for worship, cultural exchange or educational purposes with licenses issued by the Fine Arts Department. Not more than 5 pieces per person shall be allowed. (More information contact to 0 2628 5033)